ปล่อยให้เด็กปวดฟัน อันตรายกว่าที่คุณคิด

หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายรู้สึกกังวลใจเวลาเห็นเด็กปวดฟัน เพราะนอกจากจะไม่ได้เห็นสีหน้าของลูกที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มจากการทานของอร่อยแล้ว ยังต้องเห็นลูกน้อยทรมานจากอาการปวดฟันจนนอนไม่ได้ ส่งผลให้เด็กๆ หงุดหงิดง่าย ถ้าหากปล่อยไว้ในระยะยาวอาจส่งผลถึงพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกช้าลงด้วย แม้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กปวดฟันนั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เกิดจากพฤติกรรมการดูแลฟันของเด็กเองด้วย วันนี้ทาง Homey Dental Clinic จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และวิธีบรรเทาอาการเมื่อเด็กปวดฟัน เพื่อที่เราจะได้เห็นลูกมีรอยยิ้มที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กปวดฟัน

สาเหตุที่พบส่วนใหญ่เกิดจากความไม่รู้หรือความเคยชินของเด็กเอง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกต หากพบพฤติกรรมเหล่านี้ควรปรึกษาทันตแพทย์ทันทีเพื่อให้เด็กหยุดทำก่อนที่จะมีปัญหาฟันผุตามมาภายหลังซึ่งอาจร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

1. ดูดนิ้วมือ

เด็กเล็กมักจะดูดนิ้วหัวแม่มือตามสัญชาตญาณที่ต้องการความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย และจะหยุดดูดได้เองเมื่ออายุ 2-4 ปี หากไม่สามารถหยุดดูดได้เอง จะส่งผลเสียต่อฟันในระยะยาว ยิ่งถ้าเด็กดูดแรงมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้ฟันหน้าบนและล่างสบกันไม่ได้ ทำให้กัดเคี้ยวอาหารได้ไม่เต็มที่ ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาของกระดูกขากรรไกร

2. กัดฟันบ่อย

การกัดฟันมีผลเสียต่อเด็กโดยตรงโดยเฉพาะเด็กที่ยังมีฟันน้ำนมซึ่งเป็นฟันที่ยังแข็งแรงไม่เต็มที่เท่าฟันแท้ ซึ่งจะทำให้ฟันสึกกร่อน รู้สึกปวดกรามและปวดฟัน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกไม่ว่าจะเป็นการกัดฟันยามว่างหรือเวลานอนก็ตาม หากอาการกัดฟันไม่หายไปเอง ควรปรึกษาทันตแพทย์ทันที

3. มีเศษอาหารติดค้างที่ฟัน เนื่องจากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี

นอกจากจะต้องแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหารแล้ว การแปรงฟันให้ถูกวิธีเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการดูแลฟันของเด็ก รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปากอย่างเช่น ไหมขัดฟัน หรือน้ำยาบ้วนปาก จะช่วยให้ฟันแข็งแรงยิ่งขึ้นด้วย

4. ฟันหักหรือร้าว

ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุหรือการใช้ฟันกัดของแข็งเกินไปจนทำให้ฟันหักก็ตาม มักส่งผลตามมาคืออาการปวดฟันอย่างรุนแรง ดังนั้นหลังจากฟันหักแล้วให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นและทำความสะอาดฟันที่หักทันที จากนั้นควรรีบไปหาทันตแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อให้ฟันที่หักสามารถต่อกลับเข้าไปเหมือนเดิม หรือในกรณีที่ต่อไม่ติด ทันตแพทย์จะครอบหรืออุดฟันให้เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันมีปัญหาอื่นตามมา

5. ปัญหาจากงานทันตกรรม

กรณีที่การครอบหรืออุดฟันเกิดปัญหา เช่น ที่ครอบฟันหลวม แตก หลุดออก หรือเกิดอาการแพ้ตามมา อาจทำให้เส้นประสาทฟันโผล่มาให้เห็นชัดขึ้น ดังนั้นหากพบปัญหาดังกล่าวควรรีบไปทันตแพทย์เพื่อซ่อมที่ครอบฟันทันที

6. เกิดฝีในฟัน

หลังจากเกิดฟันผุจนโพรงประสาทฟันของเนื้อเยื่อของฟันอักเสบ จึงเกิดฝีที่เหงือกซึ่งมีลักษณะเป็นถุงหนองในกระดูกขากรรไกร จนทำให้เกิดอาการปวดเป็นพักๆ บวมแดง ส่งผลให้รับรสชาติอาหารได้ไม่เต็มที่ด้วย

วิธีบรรเทาอาการปวดฟันเบื้องต้นสำหรับเด็ก

1. แปรงฟัน

นำแปรงสีฟันขนนุ่มล้างให้สะอาด จากนั้นแปรงให้ทั่วช่องปากของเด็ก นอกจากจะช่วยทำความสะอาดช่องปากแล้วยังนวดเหงือกไปในตัวด้วย

2. ใช้ไหมขัดฟัน

หากมีเศษอาหารติดฟันในซอกเหงือกเป็นเวลานานและไม่สามารถใช้แปรงสีฟันแปรงออก ให้รีบใช้ไหมขัดฟันดันเศษอาหารออกโดยเร็วที่สุด

3. อมเกลือแก้ปวดฟัน

เกลือช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ปวดฟัน โดยนำเกลือผสมกับน้ำอุ่นแล้วอมไว้ประมาณ 30 วินาที หากไม่ดีขึ้นแนะนำให้ทำซ้ำหลายๆ รอบ

4. ใช้น้ำร้อนช่วยประคบ

ถ้ามีฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันเป็นหนองที่ปลายรากฟันและบวม ควรใช้น้ำร้อนช่วยประคบบริเวณที่บวมนอกช่องปาก จะช่วยลดอาการปวดฟันได้ดี และช่วยเพิ่มการระบายหนอง สามารถบรรเทาอาการปวดได้ดี

5. ผ้าเย็นแช่แข็งหรือจุกนมแช่แข็ง

นำผ้าขนหนูหรือจุกนมยางไปทำความสะอาด แล้วนำไปแช่ช่องฟรีซจนกว่าจะแข็ง จากนั้นเอาไปให้เด็กกัดเล่น

6. น้ำมันกานพลู

นำสำลีชุบน้ำมันกานพลูอุดลงไปในรูที่ผุ ฤทธิ์ของน้ำมันจะช่วยแก้ปวดฟันได้

7. การรับประทานยาแก้ปวด

ได้แก่ พาราเซตามอล หรือ แอสไพริน โดยปกติจะรับประทานยาแก้ปวดครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ทั้งนี้ควรอ่านฉลากยาประกอบด้วย

8. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่เสี่ยงต่อการปวดฟัน

  • งดทานอาหารรสจัด เช่น หวานหรือเปรี้ยวจัด
  • งดทานอาหารที่มีอุณหภูมิมากหรือน้อยจนเกินไป เช่น ไอศกรีม หรือนมร้อน
  • งดทานอาหารที่แข็งจนเกินไป เช่น ขนมน้ำตาลใส่ถั่ว
  • งดใช้ฟันซี่ที่ปวดเคี้ยวอาหาร ให้ใช้ฟันอีกข้างหนึ่งเคี้ยวแทน

แม้วิธีการข้างต้นจะช่วยบรรเทาให้เด็กปวดฟันน้อยลง แต่สิ่งสำคัญในการรักษาอาการปวดฟันคือการดูแลรักษาฟันที่ถูกต้องตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องให้ความรู้เกี่ยวกับฟันแล้ว จะต้องพาเด็กๆ มาตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำทุกๆ 6 เดือนด้วย โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุไม่ถึง 12 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการทางฟันอย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณบทความ www.homeydentalclinic.com

Related Posts

แนะนำหนังสือดี-ที่เด็กมหาลัยต้องอ่าน
รียนจบมาแล้วจะได้ทำงานทันทีเลยไหม งานที่ใช่ในอุดมคติของเราเป็นยังไงกันแน่? เงินเดือนที่ควรจะได้คือเท่าไหร่? แล้วจะบริหารเงินในแต่ละเดือนอย่างไรให้พอใช้ดี? อายุตั้งเท่านี้แล้ว ทำไมถึงรู้สึกเหมือนยังไม่มีอะไรที่น่าภูมิใจในตัวเองเลย คิดว่าชาวคลับวัยมหาลัยที่กำลังเรียนอยู่หรือว่าเรียนใกล้จบแล้วหลายคน คงตั้งคำถามเหล่านี้วนไปวนมาในหัวกันอยู่บ่อย ๆ ยิ่งในปัจจุบันที่สังคมบีบบังคับให้เราต้องรีบประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ถึงจะกลายเป็นคนที่น่ายกย่อง รวมไปถึงการต้องเห็นความสำเร็จของคนอื่นผ่านไทม์ไลน์กันแทบจะทุกวัน ก็อาจจะทำให้เด็กจบใหม่วัย first...
Read more
เดอะครู้ดส์ มนุษย์ถ้ำผจญภัย (The Croods)
เรื่องย่อหนัง เรื่องราวการผจญภัยของครอบครัวครู้ดส์มนุษย์ถ้ำยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งมี“กรั๊ก”เป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นพ่อที่มักจะคอยปกป้องภรรยาและลูกๆด้วยการใช้วิธีเข้มงวดหวาดระแวงทุกอย่างและการคอยเฝ้าระแวงจนเกินเหตุของเขาทำให้ทุกคนในครอบครัวต้องอาศัยอยู่แต่ในถ้ำ วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น แผ่นเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนตัวทำให้ถ้ำของครอบครัวครู้ดส์โดนหินถล่มลงมาทับจนไม่สามารถอาศัยอยู่ได้อีกต่อไป ครอบครัวครู้ดส์จึงได้ออกมาพบกับโลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตสุดอัศจรรย์ นับแต่นั้นการเดินทางเพื่อเปิดมุมมองใหม่จึงเกิดขึ้น และ “กรั๊ก” ก็ได้เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนความคิดและมุมมองโบราณของตัวเองให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะสิ่งสำคัญคือ ความอยู่รอดของครอบครัว ประเภทหนัง...
Read more
ฟันคุด
ปวดฟันเกิดจากฟันคุดขึ้น หรือเปล่า ?
ฟันคุด คือ อะไร ? ฟันคุด คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ มีลักษณะการขึ้นไม่เต็มที่หรือมีแนวการขึ้นของฟันที่ผิดปกติ ทำให้อาจเห็นเพียงฟันบางส่วนหรือไม่เห็นเลยเพราะเนื้อฟันฝังตัวอยู่ใต้เหงือก บริเวณกระดูกขากรรไกร ฟันคุด (Impacted Tooth, Wisdom Tooth)...
Read more
ฟันหลอเด็ก
เด็กฟันโยก ฟันหน้าหลอ
เพราะฟันน้ำนมคือฟันชุดแรกของเด็ก ๆ ที่ขึ้นมาเพื่อให้สามารถทานอาหารได้อย่างหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กน้อยเหล่านั้นเติบโตขึ้นจนถึงช่วงนึงของชีวิต ฟันน้ำนมที่มีอยู่ก็จะหลุดออกไป และถูกแทนที่ด้วยฟันแท้แทน แต่ว่า ในขณะที่เด็ก ๆ ฟันหลุด...
Read more
Translate »