เด็กฟันโยก ฟันหน้าหลอ

ฟันหลอเด็ก

เพราะฟันน้ำนมคือฟันชุดแรกของเด็ก ๆ ที่ขึ้นมาเพื่อให้สามารถทานอาหารได้อย่างหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กน้อยเหล่านั้นเติบโตขึ้นจนถึงช่วงนึงของชีวิต ฟันน้ำนมที่มีอยู่ก็จะหลุดออกไป และถูกแทนที่ด้วยฟันแท้แทน แต่ว่า ในขณะที่เด็ก ๆ ฟันหลุด ผู้ปกครองอย่างเรา ๆ ควรจะต้องดูแล

ฟันน้ำนมของเด็ก ควรจะหลุดเมื่อไหร่กันนะ

ลำดับการหลุดของฟันน้ำนม ตั้งแต่เริ่มต้น จนเสร็จสิ้นกระบวนการนั้น จะกินเวลากว่า 6 ปี การขึ้น และหลุดของฟันน้ำนม เป็นหนึ่งในก้าวย่างการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ โดยฟันแท้จะเริ่มดันตัวขึ้นมา ทำให้ฟันน้ำนมเริ่มโยก หลุดร่วงลงมา และสละหน้าที่ให้กับฟันแท้ในที่สุด

เด็กส่วนใหญ่จะมีฟันแท้ซี่แรก เมื่ออายุราว 6 ขวบ นั่นจึงหมายความว่า จะเป็นช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมเริ่มหลุดไปด้วยเช่นกัน หากแต่ว่า ช่วงอายุที่ฟันน้ำนมเริ่มหลุด ไม่สำคัญเท่ากับลำดับการหลุดของฟันน้ำนม และลำดับการขึ้นของฟันแท้ ฟันน้ำนมของเด็กบางคนอาจจะหลุดตั้งแต่ 4 ขวบ หรือบางคนอาจจะเริ่มหลุดค่อนข้างช้า เช่นตอนอายุ 7 ขวบก็เป็นได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ช่วงเวลาผลัดเปลี่ยนชุดฟันของเด็ก ๆ ไม่เท่ากัน ก็มาจากช่วงเวลาที่ฟันน้ำนมเริ่มต้นงอกออกมาให้เห็น ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 3 เดือน ไปจนถึง 1 ขวบครึ่ง หากเด็กเริ่มมีฟันน้ำนมให้เห็นเร็ว ฟันชุดแรกนี้ ก็จะหลุดไปเร็ว แล้วก็จะมีฟันแท้เร็วตามไปด้วย

ลำดับการขึ้นของฟันน้ำนม

การขึ้นของฟันน้ำนมไม่ได้มีลำดับที่ชัดเจนมากนัก ไม่ฟันซี่หน้า ก็ฟันเขี้ยวที่มักจะโผล่ขึ้นมาให้เห็นก่อนใครเพื่อน หากแต่การหลุดของฟันน้ำนมนี้ จะมีลำดับขั้นตอนที่มักเหมือนกันในเด็กแต่ละคน

โดยฟันซี่แรกที่มักจะโยกก่อนซี่อื่น ๆ ก็คือ ฟันหน้าสองซี่ล่าง หรือที่เรียกว่าฟันตัดที่จะหลุดก่อน ต่อด้วยฟันหน้าสองซี่บน จากนั้นจึงจะขยับเข้าด้านข้าง และด้านในอย่างฟันตัดซี่ที่อยู่ด้านข้าง ฟันกรามชุดแรก ฟันเขี้ยว และตบท้ายด้วยฟันกรามชุดที่สอง

ซึ่งช่วงอายุที่ฟันน้ำนมของเด็กจะเริ่มหลุดคือตั้งแต่ 4 ขวบ ไปจนถึง 7 ขวบ และจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับว่าเด็กมีฟันโผล่ขึ้นมาให้เห็นตอนอายุกี่ขวบ แต่โดยทั่วไปแล้ว เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ จะรู้สึกว่าฟันน้ำนมสองซี่ด้านหน้าเริ่มจะโยก ตอนอายุประมาณ 5 ขวบ โดยเด็กอาจจะรู้สึกมันเขี้ยว และเอาลิ้นไปดัน ๆ เจ้าฟันโยกเยกคู่นี้ไม่หยุดเลยทีเดียว

โดยฟันน้ำนมของเด็กจะค่อย ๆ ผลัดกันโยก และหลุดออกไป กระทั่งมีฟันแท้ซี่ใหม่เข้ามาทดแทน จนถึงอายุ 8 ปี หรือไปจนถึง 13 ปี และในเวลานั้น ฟันแท้เกือบครบทุกซี่ ยกเว้นฟันกรามด้านในสุด ก็จะขึ้นมาเรียงกันอย่างสวยงาม และไม่มีควรจะมีฟันน้ำนมเหลืออยู่แล้วในตอนนี้

ถ้าลูกฟันน้ำนมหลุด เราควรจะทำอย่างไรบ้าง

ให้เด็กกลั้วคอด้วยน้ำอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีเลือดออกหลังฟันหลุด ซึ่งสามารถใช้ยาสีฟันที่เหมาะสมกับช่องปากของเด็กต่อไปได้ และแนะนำให้เด็กอย่าแปรงฟันแรงจนเกินไปในบริเวณที่ฟันหลุดออก เพื่อหลีกเลี่ยงการระคายเคืองบริเวณนั้น แต่ในกรณีที่เด็กมีอาการปวดร่วมด้วย แนะนำให้ทานยาแก้ปวดบรรเทาอาการแทน หลังจากนั้น ให้เสริมสร้างกิจวัตรสุขภาพช่องปากที่ดีให้แก่เด็ก เช่น การแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง และรักษานิสัยการกินที่ดีต่อสุขภาพ เน้นย้ำเรื่องการหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม อาหารและเครื่องดื่มรสหวานที่เป็นอันตรายต่อฟัน เพราะมีผลสำคัญต่อฟันแท้ที่กำลังจะขึ้น

แต่ในกรณีที่ฟันน้ำนมหลุดจากอุบัติเหตุแล้วไม่ได้นำฟันที่หลุดไปรักษา หรือนำไปพบทันตแพทย์เด็กช้าเกิน 2 ชั่วโมง จนทำให้ทันตแพทย์ใช้กาวต่อฟันซี่หักไม่ได้ อาจต้องอุดฟันเพื่ออุดช่องว่างบริเวณฟันที่หัก หรืออาจถอนฟันเพื่อป้องกันสำลักฟันลงคอ

และในระหว่างนี้ ทันตแพทย์เองก็อาจแนะนำให้ทำฟันปลอมเด็ก ซึ่งเหมาะกับเด็กที่สูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันรอบข้างเคลื่อนที่จนเอียงและล้ม จนทำให้ฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นซ้อนกันและเป็นปัญหาฟันภายหลัง โดยจะใช้ฟันปลอมแบบถอดได้มาใส่แทนที่ฟันที่หลุดไปแบบชั่วคราว โดยทั่วไปมีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ แบบพลาสติกยืดหยุ่น และแบบโลหะ

อะไรทำให้เด็กฟันหลอได้บ้าง

ต้องเข้าใจก่อนว่าฟันของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปีนั้นเป็นฟันน้ำนม ซึ่งมีเคลือบฟันแข็งแรงน้อยกว่าฟันแท้ซึ่งเป็นฟันชุดที่ 2 ที่ใช้กันถาวร ฟันน้ำนมจึงมีโอกาสหลุดหรือสึกกร่อนง่ายนั่นเอง โดยการหลุดของฟันน้ำนมมีอยู่ 3 ปัจจัย ได้แก่ ฟันหลุดตามช่วงวัยเพื่อให้ฟันแท้งอกขึ้นมาพ้นเหงือก, การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนถึงช่องปากโดยตรง และพฤติกรรมเสี่ยงสะสมที่ทำลายความแข็งแรงของฟันน้ำนมทีละน้อย ไม่ว่าจะเป็นการนอนกัดฟันแบบไม่รู้ตัว การกัดฟันจากความเคยชิน การรับประทานอาหารที่เหนียวหรือแข็งเกินไป จนต้องใช้แรงฟันมาก รวมถึงละเลยการทำความสะอาดช่องปาก หรือทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี

ถ้าฟันโยกพร้อมจะหลุดแล้ว ควรทำยังไงดี

หากรู้สึกคันบริเวณฐานฟันแสดงว่าฟันกำลังจะโยก ซึ่งเป็นสัญญาณว่าฟันแท้กำลังจะขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่ควรแนะนำให้ลูกใช้ลิ้นดุนฟันไป-มาโดยระวังไม่ให้เจ็บฟันมาก หรือใช้นิ้วขยับฟันเบาๆ ทุกวันจนกว่าจะหลุด บางกรณีการแปรงฟันจะช่วยให้ฟันที่โยกหลุดเร็วขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

เมื่อฟันหลุดแล้วให้กลั้วปากและบ้วนด้วยน้ำสะอาดจนกว่าจะไม่มีเลือดปนในน้ำลาย หรือนำน้ำเกลือ 1/4 ช้อนชา ผสมกับน้ำอุ่น 1/2 ถ้วยแล้วนำมากลั้วปากและบ้วนออกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จากนั้นนำผ้าก๊อซมากัดไว้บริเวณฟันที่หลุดเป็นเวลา 15-20 นาที แต่หากเลือดยังไหลไม่หยุดก็ควรพบหมอฟันโดยด่วน หลังจากเลือดหยุดไหลแล้วจึงให้ลูกกินยาแก้ปวดได้ตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงประคบเย็นด้วยน้ำแข็งห่อผ้าประคบข้างแก้มที่มีฟันหลุดเป็นเวลา 15-20 นาที เพื่อบรรเทาอาการ

ฟันหลอเด็ก

ถ้าฟันหลุดจากอุบัติเหตุ ควรทำยังไงดี

หากเกิดอุบัติเหตุจนฟันหักหรือโยกอย่างรุนแรง ให้ลูกล้างปากให้สะอาดและแปรงฟันอย่างเบามือ ถ้าแปรงแรงไปจะทำให้เซลล์เยื่อยึดกระดูกและฟันตายได้ จากนั้นพยายามเอาเศษอาหารออกให้หมดปาก และจับที่ตัวฟัน (สังเกตจากตัวฟันที่มีสีขาวกว่าและไม่มีปลายแหลม) ห้ามจับรากฟันเด็ดขาดเนื่องจากรากฟันมีเยื่อยึดระหว่างฟันและกระดูก ซึ่งอาจทำให้รากฟันที่หลุดนั้นเสียหายจนใส่กลับเข้าไปได้

หลังจากล้างฟันที่หักด้วยน้ำสะอาด หรือนมจืดแล้วนำไปแช่ในน้ำ/แช่ในผ้าชุ่มน้ำ เพื่อเพิ่มโอกาสให้หมอฟันใช้กาวต่อฟันที่หลุดติดและใช้งานได้เหมือนเดิม จากนั้นนำผ้าก๊อซมากดไว้ที่แผลเพื่อห้ามเลือด และใช้ถุงน้ำแข็งประคบเพื่อลดอาการบวม หลังจากนั้นรีบไปหาหมอทันที เพราะถ้าไปหาหลังจาก 30 นาทีแล้ว อาจทำให้โอกาสต่อฟันติดน้อยลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหมอด้วยว่าจะรักษาฟันที่หลุดด้วยวิธีไหน

เด็กฟันหลอต้องรอให้ฟันแท้ขึ้นมาเองมั้ย

ไม่ควรอย่างยิ่งครับ เพราะโอกาสที่ฟันแท้จะขึ้นมาอาจผิดรูปจากธรรมชาตินั้นมีสูงมาก เนื่องจากเมื่อฟันหลุดแล้วช่องปากเราจะมีที่ว่างทำให้ฟันอาจเอียงไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาหมอฟันทันทีเพื่อให้คุณหมอวินิจฉัยและหาทางรักษาต่อไป

วิธีช่วยให้เด็กฟันหลอใช้งานฟันได้ตามปกติ

หากฟันหลุดจากอุบัติเหตุ หมอฟันจะรักษาด้วยการอุดหรือครอบฟันแทน หากต้องอุดฟัน หมอฟันจะใช้วัสดุสีเหมือนฟันอุดในช่องว่างของฟันที่หักแล้ว จากนั้นจึงฉายแสงเพื่อให้ฟันมีสีและลักษณะเป็นธรรมชาติ ส่วนกรณีที่ต้องครอบฟัน หมอฟันจะใช้โลหะหรือเซรามิกครอบฟันที่หักเพื่อให้ฟันกลับมาใช้ได้เหมือนเดิม แต่หากพบว่าฟันที่หักโยกผิดปกติ อาจจะต้องถอนฟันซี่นั้นออก เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กสำลักฟันลงคอขณะทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งอาจอันตรายถึงชีวิตได้ หลังจากการรักษาแล้วหมอฟันจะนัดติดตามอาการเป็นระยะ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของฟันที่หัก และซ่อมแซมฟันด้วยวัสดุทางทันตกรรมนั่นเอง

แต่ในกรณีที่เป็นฟันแท้ที่เพิ่งขึ้นอย่างเช่นฟันกรามหลุดออกมา หมอฟันจะทำฟันปลอมให้โดยคุณหมอจะออกแบบฟันปลอมตามลักษณะช่องปากของเด็ก จากนั้นจึงใช้ถาดพิมพ์ปากและเลือกสีฟันเพื่อทำฟันปลอมผ่านเครื่องจำลองขากรรไกร แล้วให้เด็กลองถาดแผ่นฐานฟันปลอมชั่วคราวโดยใช้ซี่ฟันปลอมของผู้ใหญ่กรอแต่งให้เหมาะกับช่องปากของเด็กคนนั้น และนำฟันซี่นั้นส่งเข้าห้องปฏิบัติการ หลังจากนั้นคุณหมอจะใส่ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้ให้กับเด็ก

หลังจากการรักษาเรียบร้อย อย่าลืมดูแลช่องปากของลูกน้อยอย่างเคร่งครัด และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อปัญหาฟันที่อาจไปกระตุ้นให้ปวดแผลมากขึ้น เช่น นอนกัดฟัน ใช้ฟันงัดของแข็ง กินอาหารที่เหนียวหรือแข็งเกินไป และที่สำคัญควรพาลูกน้อยไปพบหมอฟันเป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจเช็กปัญหาฟันที่ไม่มองเห็นได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ลูกน้อยของคุณมีสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงในอนาคต

เด็กยิ้มสวย

จากการสำรวจสถานการณ์ฟันผุในเด็กไทยพบว่าเด็กเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุ 9 เดือน และพบว่าเด็กอายุ 3 ปีมีฟันผุเฉลี่ย 3 ซี่ต่อคน สาเหตุหลักของฟันผุในเด็กเล็กมาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม เช่น การให้เด็กทานขนมหรือนมที่มีรสหวานเป็นประจำ การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมหลังจากฟันขึ้นแล้ว หรือผู้ปกครองละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยไม่ได้เริ่มแปรงฟันตั้งแต่น้ำนมซี่แรกขึ้น

ผลกระทบของโรคฟันผุในเด็กสามารถส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพช่องปากในอนาคตได้ การมีฟันน้ำนมผุ เด็กจะปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้ ร่างกายจะได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลต่อการเจริญเติบโต อีกทั้งอาการปวดฟันยังส่งผลต่อการนอนหลับและการเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ล้วนกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเด็กตัวเล็กๆ สามารถขัดขวางพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และสติปัญญาได้

นอกจากนี้เด็กที่มีฟันน้ำนมผุก็มักจะพบว่าฟันแท้ผุไปด้วย เนื่องจากเด็กที่มีฟันผุจะมีเชื้อก่อโรคฟันผุในช่องปากมากกว่าปกติซึ่งจะส่งผลให้ฟันแท้ที่กำลังจะขึ้นใหม่นั้นเกิดฟันผุได้เช่นเดียวกัน

ผู้ปกครองจึงควรให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพช่องปากและการปลูกฝังเด็กในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้เด็กมีคุณภาชีวิตที่ดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีฟันที่แข็งแรงและไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

ทำไมเด็กถึงมีฟันผุง่าย?   

ผู้ปกครองหลายคนคงกำลังสงสัยว่าลูกอายุยังน้อยแต่ทำไมเริ่มมีฟันผุแล้ว

ความจริงแล้วฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกงอกขึ้นมา โดยมีปัจจัยที่ทำให้ฟันผุคือพฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมและการดูแลความสะอาดช่องปากที่ไม่ทั่วถึง

โรคฟันผุเกิดจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากร่วมกับเศษอาหารและน้ำลาย สะสมเป็นคราบขี้ฟันหรือคราบแบคทีเรีย ซึ่งมีลักษณะเหนียวเกาะติดแน่นอยู่ตามผิวฟัน ไม่สามารถหลุดออกจากการบ้วนน้ำหรือการเช็ดเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้  แบคทีเรียเหล่านี้สามารถเปลี่ยนน้ำตาลและแป้งให้เป็นกรดที่มีฤทธิ์ทำลายผิวฟันจนเกิดเป็นรูเล็กๆ เมื่อรูเล็กๆ ขยายใหญ่ขึ้น เด็กจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน และปวดฟันได้

ฟันน้ำนมจะเป็นฟันที่เด็กใช้งานไม่น้อยกว่า 5-10 ปี ก่อนจะมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ ฟันน้ำนมของเด็กนั้นมีโอกาสผุได้ง่ายและลุกลามไวกว่าฟันแท้ เนื่องจากชั้นเคลือบฟันน้ำนมมีความบางกว่าฟันแท้ การเลี้ยงดูที่มองข้ามเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไป

เช่น การให้เด็กดื่มนมจากขวดและหลับไปพร้อมกับขวดนม หรือการปล่อยให้เด็กกินขนมหวานตามใจชอบแล้วไม่ได้แปรงฟัน เมื่อเชื้อแบคทีเรียได้น้ำตาลเป็นอาหารก็จะผลิตกรด และกรดเหล่านี้จะขังอยู่ในแผ่นคราบขี้ฟันเป็นเวลานาน เมื่อกรดสัมผัสฟันเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดการทำลายของผิวฟันอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการกำจัดคราบขี้ฟันเหล่านี้

ฟันผุในเด็ก

 

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ฟันผุ

  • น้ำตาลต้นเหตุใหญ่ของโรคฟันผุ

อาหารส่วนใหญ่ที่เด็กกินในปัจจุบันมีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลอยู่แทบทุกอย่าง ตั้งแต่นม ขนมอบกรอบ ขนมหวาน น้ำอัดลม ซึ่งแป้งและน้ำตาลเหล่านี้จะเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของแบคทีเรียที่พร้อมจะทำปฏิกิริยากับน้ำตาลเหล่านี้ให้เป็นกรดที่พร้อมจะทำลายผิวฟันไปทีละนิดจนลุกลามไปเรื่อยๆ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร

  • ปัจจัยแวดล้อมในช่องปาก

นอกจากอาหารและน้ำตาลแล้ว ปัจจัยในช่องปากก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ฟันผุได้ เช่น รูปร่างของฟันแต่ละซี่ที่มีร่องลึก ตำแหน่งที่ผิดปกติ ซ้อนเกไม่เป็นระเบียบจะทำให้ยากต่อการทำความสะอาด เป็นผลให้เศษอาหารเข้าไปติดอยู่เป็นเวลานานส่งผลให้เกิดฟันผุได้ง่าย

ผลกระทบของโรคฟันผุต่อสุขภาพ

เมื่อพบว่าลูกมีอาการปวดฟัน นั้นคือสัญญาณที่บ่งบอกว่ารอยผุมีขนาดใหญ่และลุกลามไปมากแล้ว และควรได้รับการรักษา

อาการปวดฟันจะมีตั้งแต่ปวดน้อยไปจนถึงปวดมากจนเด็กไม่สามารถใช้กัดหรือเคี้ยวอาหารได้เป็นปกติ เมื่อเด็กเริ่มมีอาการปวดฟันมากขึ้นจะทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากเด็กจะมีความอยากอาหารน้อยลงหรือเลือกกินมากขึ้น ส่งผลให้เด็กขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

และเมื่อเด็กปวดฟันมากจนนอนไม่หลับก็จะกระทบต่อการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต (growth hormone) เหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายของเด็ก

ในเด็กที่มีฟันผุลุกลามมาก สามารถพบการติดเชื้อและเป็นหนองลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้ เช่น แก้ม ดวงตา และสมอง หรืออาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ไม่ใช่แค่การส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กเพียงอย่างเดียว โรคฟันผุยังทำให้เด็กเกิดปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์ด้วย

การมีฟันผุทำให้เด็กขาดความมั่นใจในการพูดเนื่องจากฟันมีการเปลี่ยนสีหรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ หรือการที่เด็กต้องถอนฟันน้ำนมออกก่อนที่ฟันแท้ขึ้นก็ส่งผลต่อฟันที่กำลังงอกใหม่ให้มีการล้มเอียงส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาวได้เช่นเดียวกัน

โรคฟันผุป้องกันและรักษาได้

แม้ว่าการเกิดฟันผุจะเกิดขึ้นได้ง่ายกับเด็ก แต่ก็สามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่ทำให้ฟันผุได้ด้วยหลายวิธีทั้งการเลือกแปรงสีฟันที่เหมาะสมกับเด็ก การเลือกยาสีฟัน การปลูกฝังให้เด็กแปรงฟันอย่างถูกวิธี และไปพบทันตแพทย์หรือทันตบุคลการเพื่อตรวจฟันเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เมื่อตรวจพบรอยผุขนาดเล็ก ก็จะทำการรักษาได้ไม่ยุ่งยาก หากรอจนฟันผุลุกลามหรือเด็กมีอาการปวดฟันแล้วจึงค่อยไปพบทันตแพทย์ ก็อาจสายเกินไปที่จะรักษาฟันซี่นั้นไว้ได้

ฟันหลอ ถ้าเกิดในเด็กอายุยังน้อย ฟันที่หลุดไปถ้าหลุดเองโดยธรรมชาติ มักจะเป็่นฟันน้ำนม ซึ่งแน่นอนว่าหลุดออกไปแล้ว ก็ยังรอฟันแท้ขึ้นมาทดแทนได้ แต่ถ้าหากถึงวัยที่ฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่แล้ว เกิดฟันหลุดไป ซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้สูญเสียฟันไป ทำให้เกิดฟันหลอ ซึ่งถ้าสูญเสียฟันไปแล้ว การแก้ปัญหานั้นต้องจบที่คลินิกทำฟันอย่างเดียวเท่านั้น แต่ว่าจะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยเติมเต็มฟันที่สูญเสียไป ทำฟันปลอม ทำครอบฟัน จัดฟัน แบบไหนตอบโจทย์มากกว่ากัน รวมถึง ฟันหลอจัดฟัน ได้ไหม ราคาเท่าไหร่ ต้องวางแผนการรักษากันให้ดี
ขอบคุณข้อมูล : กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Related Posts

ฟันเด็กเหลือง
ดูแลช่องปากถูกวิธี ลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกฟันเหลือง
วัยเด็กเป็นช่วงวัยที่มีปัญหาฟันง่ายที่สุด เนื่องจากเด็กหลายคนอาจไม่มีความรู้เพียงพอต่อการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างทั่วถึง อีกทั้งตัวฟันน้ำนมเองก็ยังไม่แข็งแรงเท่าฟันแท้ที่ขึ้นในวัยผู้ใหญ่ จึงเกิดปัญหาฟันเหลืองได้ง่ายกว่าวัยอื่น วันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวเพื่อดูแลให้ลูกน้อยฟันขาวขึ้นด้วย สาเหตุฟันเหลืองเกิดจากอะไร อาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ การอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีสีเข้มเป็นประจำ จะทำให้สีของอาหารเหล่านั้นติดฟันง่ายขึ้น เช่น ชา...
Read more
วิธีการเลือกซื้อยาสีฟันเด็ก
เตรียมเลือกยาสีฟันให้ลูกตั้งแต่เมื่อไหร่ดี? หนึ่งในคำถามยอดนิยมสำหรับใครหลายคนก็คงไม่พ้นเรื่องนี้แน่นอน เราขอบอกตรงนี้เลยว่า คุณสามารถทำความสะอาดฟันให้ลูกน้อยได้ตั้งแต่ฟันซี่แรกงอกขึ้นมาในช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยนำผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นมาเช็ดทำความสะอาดฟัน เหงือก ลิ้น และเพดานลิ้น หลังจากฟันซี่แรกขึ้นแล้วฟันซี่อื่นจะทยอยขึ้นตามกันมาเรื่อยๆ...
Read more
ปล่อยให้เด็กปวดฟัน อันตรายกว่าที่คุณคิด
หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายรู้สึกกังวลใจเวลาเห็นเด็กปวดฟัน เพราะนอกจากจะไม่ได้เห็นสีหน้าของลูกที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มจากการทานของอร่อยแล้ว ยังต้องเห็นลูกน้อยทรมานจากอาการปวดฟันจนนอนไม่ได้ ส่งผลให้เด็กๆ หงุดหงิดง่าย ถ้าหากปล่อยไว้ในระยะยาวอาจส่งผลถึงพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกช้าลงด้วย แม้ว่าสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เด็กปวดฟันนั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เกิดจากพฤติกรรมการดูแลฟันของเด็กเองด้วย วันนี้ทาง Homey...
Read more
หน้าสวยฟันขาว
วิธีการปรับปรุงสุขภาพเหงือก
เราสามารถป้องกันโรคเหงือกหรือโรคเหงือกอักเสบได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และแน่นอนว่าขั้นตอนเหล่านี้ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันฟันผุ ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ในภายหลัง สิ่งที่ควรคำนึงถึงเมื่อคุณแปรงฟันมีดังนี้: ทำความสะอาดซอกฟัน ใช้ไหมขัดฟันหรือใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดซอกฟันเพื่อขจัดคราบพลัคทั้งจากซอกฟันและใต้เหงือกระหว่างฟัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากคราบพลัคที่ลืมหรือมองข้ามอาจแข็งตัวเป็นหินปูนและเริ่มก่อให้เกิดปัญหาได้ แปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ที่ขจัดคราบพลัค หากคุณใช้แปรงสีฟันแบบใช้แบตเตอรี่หรือแบบไฟฟ้า...
Read more
Translate »